วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




อาหารหลัก 5 หมู่ประกอบด้วย ภาพอาหารหลัก 5 หมู่ อาหารหลัก 5 s j
     อาหาร คือ สิ่งที่มีประโยชน์เมื่อร่างกายกินเข้าไปก็สามารถย่อย ดูดซึม และนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนั้นในวันหนึ่ง ๆ เราควรกิน อาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่
          หมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว
          หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
          หมู่ที่ 3 ผักใบเขียวต่าง ๆ
          หมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ
          หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน
อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อ นม ไข่ และถั่วต่าง ๆ
          อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วต่าง ๆ อาหารหมู่นี้ส่วนใหญ่จะให้โปรตีน ประโยชน์ที่สำคัญคือ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้ยังช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอจากบาดแผล อุบัติเหตุ หรือจากการเจ็บป่วย
 
          อาหารหมู่นี้จะถูกนำไปสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ เลือด เม็ดเลือด ผิงหนัง น้ำย่อย ฮอร์โมน ลอดจนภูมิต้านทานเชื้อโรคต่าง ๆ จึงถือได้ว่าอาหารหมูนี้เป็นอาหารหลักที่สำคัญในการสร้างโครงสร้างของร่าง กายในการเจริญเติบโต และทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
          อาหารในหมู่นี้ ได้แก่ นม ไข่ เนื้อ หมู วัว ตับ ปลา ไก่ และถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว หรือผลิภัณฑ์จากถั่ว เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น
หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน

         หมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน จะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้ และยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอีกด้วย พลังงานที่ได้จากหมู่นี้ส่วนใหญ่จะใช้ให้หมดไปวันต่อวัน เช่น ใช้ในการเดิน ทำงาน การออกกำลังกายต่าง ๆ แต่ถ้ากินอาหารหมู่นี้มากจนเกินความต้องการของร่างกาย ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน และทำให้เกิดโรคอ้วนได้
 
          อาหารที่สำคัญของหมู่นี้ ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแป้ง เช่น ก๋วยเตี๋ยวรวมทั้งเผือก มันต่าง ๆ น้ำตาลที่ทำมาจากอ้อยและมาจากน้ำตาลมะพร้าว
อาหารหมู่ที่ 3 ผักต่าง ๆ
          หมู่ที่ 3 อาหารหมู่นี้จะให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย ช่วยเสริมสร้างทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานเชื้อโรค และช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ

          อาหารที่สำคัญของหมู่นี้ คือ ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ผักกาดและผักใบเขียวอื่น ๆ นอกจากนั้นยังรวมถึงพืชผักอื่น ๆ เช่น มะเขือ ฟักทอง ถั่วฝักยาว เป็นต้น
          นอกจากนั้นอาหารหมู่นี้จะมีกากอาหารที่ถูกขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระทำให้ลำไส้ทำงานเป็นปกติ
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ
          อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ จะให้วิตามินและเกลือแร่ ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง มีแรงต้านทานโรค และมีกากอาหารช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นปกติ
          อาหารที่สำคํญ ได้แก่ ผลไม้ต่าง ๆ เช่น กล้วย มะละกอ ส้ม มังคุด ลำไย เป็นต้น
หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน
          หมู่ที่ 5 ไขมันและน้ำมัน จะให้สารอาหารประเภทไขมันมาก จะให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ร่างกายจะสะสมพลังงานที่ได้จากหมู่นี้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพก ต้นขา เป็นต้น ไขมันที่สะสมไว้เหล่านี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย และให้พลังงานที่สะสมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นระยะยาว
 
          อาหารที่สำคัญ ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ไขมันที่ได้จากพืช เข่น กะทิมะพร้าว น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม เป็นต้น นอกจากนั้นจะมีไขมันที่แทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ด้วย
อาหารหลัก 5 หมู่ อาหารเป็นแหล่งพลังงานและทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ากินถูกสัดส่วนและครบทุกหมู่ โดยสารอาหารนั้นมี 5 ชนิด แต่ละชนิดนั้น จะมีมากในอาหารแต่ละชนิด เราจะแยกอาหารที่มีสารอาหารเหมือนกันมาไว้ด้วยกัน เพื่อง่ายในการจดจำ ดังต่อไปนี้

ภาพอาหารหลัก 5 หมู่


อาหารหลัก 5 หมู่ แยกออกได้ดังนี้

1. เนื้อ นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา เป็นอาหารประเภทโปรตีน
บทบาทของโปรตีน
- สร้างเซลล์เนื้อเยื่อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- เป็นส่วนประกอบหลักของทุกเซลล์ในร่างกาย
 - เพิ่มภูมิคุ้มกัน และถ้าได้รับโปรตีนและไขมันที่จำเป็นในปริมาณที่พอเหมาะจะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีความแข็งแรงมากขึ้น
ถ้าขาด โปรตีน หรือได้รับโปรตีนน้อยกว่าความต้องการ
- ทำให้แก่ก่อนวัยอันควร และร่างกายทำงานผิดปกติ

2. แป้ง เผือก มัน ข้าว และน้ำตาล เป็นอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรท
บทบาทของคาร์โบไฮเดรท
-  เป็นแหล่งพลังงานที่ร่างกายเลือกใช้เป็นอันดับแรก
 - เป็นพลังงานชนิดเดียวเท่านั้นที่สมองใช้

3. ผักชนิดต่าง  เป็นอาหารประเภท วิตามิน และแร่ธาตุ
บทบาทของวิตามิน
- เป็นตัวช่วยในการนำเอา โปรตีน คาร์โบไฮเดทและไขมัน เปลี่ยนไปเป็นพลังงาน
- ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
บทบาทของแร่ธาตุ
- มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโต
- พัฒนากระบวนการทางชีวภาพของกระดูกกล้ามเนื้อ และสมอง การผลัดเซลล์ การสร้างเซลล์ใหม่ การสร้างเลือด การเผลาผลาญอาหาร เป็นต้น
ซึ่งวิตามิน เป็นสารที่มีมากในผักชนิดต่าง ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้
ถ้าขาด วิตามินและแร่ธาตุ จะทำให้ร่างกายทำงานไม่ปกติ หรือด้อยสมรรถภาพลง เช่น ตาฝ้าฟาง เพราะขาดวิตามินเอ เป็นต้น

4. ผลไม้ชนิดต่างๆ  เป็นอาหารประเภท วิตามิน และแร่ธาตุ
บทบาทของวิตามิน
- เป็นตัวช่วยในการนำเอา โปรตีน คาร์โบไฮเดทและไขมัน เปลี่ยนไปเป็นพลังงาน
- ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
บทบาทของแร่ธาตุ
- มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโต
- พัฒนากระบวนการทางชีวภาพของกระดูกกล้ามเนื้อ และสมอง การผลัดเซลล์ การสร้างเซลล์ใหม่ การสร้างเลือด การเผลาผลาญอาหาร เป็นต้น
ซึ่งวิตามิน เป็นสารที่มีมากในผลไม้ชนิดต่าง ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้
ถ้าขาด วิตามินและแร่ธาตุ จะทำให้ร่างกายทำงานไม่ปกติ หรือด้อยสมรรถภาพลง เช่น ตาฝ้าฟาง เพราะขาดวิตามินเอ เป็นต้น

5. ไขมัน
บทบาทของไขมัน
- เป็นแหล่งสะสมพลังงานของร่างกาย
- ช่วยดูดซึมวิตามินชนิดละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
แบ่งได้เป็นสองชนิด คือ
-  ไขมันดี โดยไขมันดีจะอุดมไปด้วยกรดไขมันจำเป็น ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาใช้เองได้ จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และพัฒนาการ มีมากในปลา ผัก ถั่ว และเมล็ดธัญพืช
- ไขมันร้ายพบมากใน เนื้อ ขนมบรรจุ ขนมอบ บรรจุห่อ ที่ใช้น้ำมันท